วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553
ขนาดและความจุ
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่ 20 จิกะไบต์ ถึง 1.5 เทระไบต์
- ขนาดความหนา 8 inch: 9.5 นิ้ว×4.624 นิ้ว×14.25 นิ้ว (241.3 มิลลิเมตร×117.5 มิลลิเมตร×362 มิลลิเมตร)
- ขนาดความหนา 5.25 inch: 5.75 นิ้ว×1.63 นิ้ว×8 นิ้ว (146.1 มิลลิเมตร×41.4 มิลลิเมตร×203 มิลลิเมตร)
ปัจจุบันภายในปี 2551 มีประเภทของฮาร์ดดิสก์ต่อไปนี้
- ขนาดความหนาขนาดความหนา 3.5 นิ้ว = 4 นิ้ว×1 นิ้ว×5.75 นิ้ว (101.6 มิลลิเมตร×25.4 มิลลิเมตร×146 มิลลิเมตร) = 376.77344cm³
เป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ Desktop PC หรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ Serverความเร็วในการหมุนจาน 10,000 7,200 5,400 RPM ตามลำดับ โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 80 GB ถึง 1 TB
- ขนาดความหนา 2.5 = 2.75 นิ้ว× 0.374–0.59 นิ้ว×3.945 นิ้ว (69.85 มิลลิเมตร×9.5–15 มิลลิเมตร×100 มิลลิเมตร) = 66.3575cm³-104.775cm³
นิ้วเป็นฮาร์ดดิสก์ สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา Notebook ,Laptop ,UMPC,Netbook, อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา ความเร็วในการหมุนจาน 5,400 RPM โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่ 60 GB ถึง 320 GB
- ขนาดความหนา1.8 นิ้ว: 54 มิลลิเมตร×8 มิลลิเมตร×71 มิลลิเมตร= 30.672cm³
- ขนาดความหนา1 นิ้ว: 42.8 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×36.4 มิลลิเมตร
- ขนาดความหนา0.85 นิ้ว: 24 มิลลิเมตร×5 มิลลิเมตร×32 มิลลิเมตร
ยิ่งมีความจุมาก ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่างๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี RAIDรวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้ เช่นฮาร์ดแวร์ NAS network attached storage เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว และระบบ SANstorage area network เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล
โครงการ GeForce Service
1. ชื่อโครงการ
โครงการ GeForce Service (วิชา งานบริการคอมพิวเตอร์)
2. ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นาย จุฑา น้อยสกุล เลขที่ 9
2. นาย นทิตต์ วิเศษศิริ เลขที่ 15
3. นาย สรศักดิ์ จันทร์หอม เลขที่ 33
แผนก เทคนิคคอมพิวเตอร์ ระดับ ปวช.3/1
วิทยาลัยเทคนิคสมุทรสงคราม
3. หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจำวันขอองทุกคน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานต่างๆ หรือแหล่งชุมชนทั่วไป รวมไปถึงภายในครอบครัวด้วย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ชื่อว่า “คอมพิวเตอร์” นับเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกด้านเทคโนโลยี ที่ทุกคนยอมรับและขาดไม่ได้ เนื่องด้วยความรวดเร็ว ความถูกต้อง ความแม่นยำในการใช้งาน
ซึ่งปัจจุบันนี้ได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ออกมาจำหน่าย หลายราคา หลายรุ่น ตามความต้องในการใช้งานแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น การดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ การค้นหาข้อมูล และการทำงานในด้านต่างๆ เป็นต้น เมื่อมีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานขึ้น คอมพิวเตอร์อาจจะมีปัญหาทั้งทางด้าน Softwareและ Hardware เพราะคอมพิวเตอร์นั้น ก็เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างหนึ่งที่สามารถเสียหายได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จะต้องทำการดูแลรักษาและเช็คสภาพการใช้งานของเครื่อง ให้มีความพร้อมและมีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีที่สุด และในที่นี้เองหากผู้ใช้งานไม่มีความรู้ในด้านนี้ อาจจะต้องได้รับการบริการจากร้านคอมพิวเตอร์ หรือจากผู้ที่มีความรู้ต่อไป ที่จะมาตรวจสอบ ดูแลแก้ไขปัญหาของเครื่องคอมพิวเตอร์
กลุ่มของข้าพเจ้า จึงได้คิดโครงการ GeForce Service ขึ้น เพราะสอดคล้องกับวิชาในบทเรียนคือ งานบริการคอมพิวเตอร์(Computer Service) ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้นักเรียนได้ออกปฏิบัติงานบริการต่างๆในสถานที่ จริง ข้าพเจ้าและเพื่อนๆจึงมีโครงการที่จะจัดซื้อหาอุปกรณ์ ตามออเดอร์
รับประกอบคอมพิวเตอร์ แก้ไขปัญหาสำหรับผู้ที่มีปัญหา ในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้มีจุดประสงค์ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ มีความสะดวกสบายใจในการใช้งานคอมพิวเตอร์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ขัดขวางการทำงาน การเรียน หรืออื่นๆอีกต่อไป
4. วัตถุประสงค์
1. เพื่อต้องการช่วยแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ให้กับผู้ใช้งานทั้งในและนอกสถานที่
2. เพื่อบริการสั่งซื้อของตามออเดอร์ ประกอบคอมพิวเตอร์ตามสเปก
5. เป้าหมาย
1. ความเชี่ยวชาญในการทำงาน
2. ผลกำไรจากการทำโครงการ ร้านคอมพิวเตอร์
6. วิธีการดำเนินการ
1. ประชุมปรึกษาผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและจัดทำโครงการ
2. สำรวจและรวบรวมข้อมูล
3. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
4. สำรวจหาสถานที่เพื่อเปิดเป็นสถานที่รับการบริการ
5. จัดเตรียมเอกสาร ความพร้อมและอุปกรณ์ต่างๆที่จะใช้ในการบริการ
6. ออกบริการตามสถานที่ต่างๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด
7. สรุปและประเมินผล
7. ระยะเวลาดำเนินงาน
ภายในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 ตั้งแต่ เดือน พฤษภาคม –กันยายน พ.ศ. 2553
8. สถานที่ดำเนินงาน
ร้าน ตะวันยิ้มแฉ่ง
บ้านนักเรียนนักศึกษา
พันทิพย์
ฟอร์จูน
9. งบประมาณ
1. ค่ารถและยานพาหนะ 140/คน/ครั้ง บาท
2. ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม 100/คน/ครั้ง บาท
3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ในการออกบริการ 300 บาท
4. ค่าอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์(ตามออเดอร์) 5000 บาท
5. อื่นๆ 500 บาท
6. รวมงบประมาณ ประมาณ 10000 บาท
10. หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน
11. การประเมินผล
ทำการจดบันทึกการออกบริการ การจัดซื้ออุปกรณ์ทุกครั้ง และประเมินผลว่ามีประสบผลสำเร็จมากน้อยแค่ไหน
12. ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถช่วยแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ ให้กับผู้ใช้งานทั้งในและนอกสถานที่ได้
2. สามารถบริการสั่งซื้อของตามออเดอร์ ประกอบคอมพิวเตอร์ตามสเปค
3. ความเชี่ยวชาญในการทำงาน ประสบการณ์ต่างๆ